top of page
เเบบประเมินภาวะเเทรกซ้อนโดยมีความเครียดเป็นสาเหตุ
ประเมินความเครียด (ST-5)
เกณฑ์การเเปลผลเเบบประเมินความเครียด (ST-5)
คะเเนน 0-4 มีความเครียดน้อย
จัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้และปรับตัวกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
คะเเนน 5-7 มีความเครียดปานกลาง
มีเรื่องไม่สบายใจและยังไม่ได้ คลี่คลาย ซึ่งต้องใช้เวลาในการปรับตัวหรือแก้ปัญหา ควรให้คำ ปรึกษาหรือคำแนะนำ ในเรื่องการผ่อนคลาย ความเครียดด้วยการพูดคุยหรือปรึกษาหารือกับคนใกล้ชิด
คะเเนน 8 คะเเนนขึ้นไป
มีความเครียดสูงในระดับที่อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายเช่น ปวดหัว ปวดหลัง นอนไม่หลับ ฯลฯ ต้องได้รับคำ ปรึกษาจากบุคลากรสาธารณสุข เพื่อค้นหาสาเหตุที่ทำ ให้เกิด ความเครียดและหาแนวทางแก้ไข และคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วยแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q)
เเบบคัดกรองโรคซึมเศร้า
คัดกรองโรคซึมเศร้า
เกณฑ์การประเมินคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q)
ถ้าท่านได้ผลเป็นคำตอบ คุณได้เลือก B (ไม่มีทั้งสองอาการ)
ถือว่า ปกติไม่เป็นโรคซึมเศร้า
ถ้าท่านได้ผลเป็นคำตอบ คุณได้เลือก A,B (มีอาการข้อใดข้อหนึ่ง)
หรือท่านได้ผลเป็นคำตอบ คุณได้เลือก A (มีอาการทั้งสองอาการ)
มีความเสี่ยงหรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า แนะนำ ให้ประเมินโรคซึมเศร้าด้วยแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) เพื่อให้การดูแล ช่วยเหลือต่อไป
ประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม
ประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q)
เกณฑ์การประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q)
คะเเนนรวม <7 = ไม่มีอาการของโรคซึมเศร้าหรือมีอาการของโรคซึมเศร้าระดับน้อยมาก
แนะนำ ให้สำรวจ/ประเมินโรคซึมเศร้าด้วยตนเองด้วยแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า2คำถาม (2Q) เมื่อพบว่า ผลมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ให้มาพบบุคลากรสาธารณสุขเพื่อประเมินโรคซึมเศร้าอีกครั้ง
คะเเนนรวม 7-12 = มีอาการของโรคซึมเศร้า ระดับน้อย
แพทย์วินิจฉัยโรคทางกายและประเมินยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ ให้หยุดหรือลดยาที่สามารถทำให้เกิดอาการคล้ายซึมเศร้า แนะนำวิธีลดอาการซึมเศร้าโดยไม่ใช้ยาเช่น ออกกำลังกาย 30 - 45 นาทีอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และวิธีอื่น ๆที่เหมาะสม
คะเเนนรวม 13-18 = มีอาการของโรคซึมเศร้า ระดับปานกลาง
แพทย์วินิจฉัยโรคทางกายและประเมินยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ ให้หยุดหรือลดยาที่สามารถทำให้เกิดอาการโรคซึมเศร้า ค้นหาและประเมินปัญหาด้านสังคมจิตใจถ้ามีควรให้การปรึกษาผู้ป่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาที่ทุกข์ใจ พิจารณาให้ยาต้านเศร้า ตามแนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยาต้าน อารมณ์เศร้า
คะเเนนรวม >19 = มีอาการของโรคซึมเศร้า ระดับรุนแรง
แพทย์วินิจฉัยโรคทางกายและประเมินยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ ให้หยุดหรือลดยาที่สามารถทำให้เกิดอาการโรคซึมเศร้า ค้นหาและประเมินปัญหาด้านสังคมจิตใจถ้ามีควรให้การปรึกษาผู้ป่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาที่ทุกข์ใจ ให้ยาต้านเศร้าตามแนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยาต้านอารมณ์เศร้า รับการรักษาในมาตรฐานระดับตติยภูมิเช่น ยาต้าน อารมณ์เศร้า การรักษาด้วยไฟฟ้า
bottom of page