top of page
รูปภาพนักเขียนส้มส้ม

คึกครื้นสุดโต่งกับดิ่งดาวน์ลงสุด ไบโพล่าร์



โรคไบโพลาร์ (bipolar disorder) หรือโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์สองแบบเปลี่ยนแปลงไปมาสลับกัน คือ อารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ (mania เมเนีย) และอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ (depressed ดิเพรส) ซึ่งจะทำให้มีอารมณ์ดีอยู่ในภาวะร่าเริงผิดปกติ และจะมีภาวะซึมเศร้า เบื่อหน่าย สลับกันไป มีสาเหตุจากพันธุกรรม สารเคมีบางอย่างในสมองผิดปกติไป อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่นๆ เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ป่วยได้รับแรงกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกที่กระทบกระเทือนต่อสภาพจิตใจ เช่น ความผิดหวัง ความเสียใจอย่างรุนแรงหรือฉับพลัน การเจ็บป่วยทางร่างกาย เป็นต้น โรคไบโพลาร์เพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น โรคความผิดปกติด้านการกิน โรคทางจิต โรคไมเกรน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคสมาธิสั้น และโรคอ้วน เป็นต้น นอกจากนี้ พฤติกรรมหรืออาการที่เกิดจากอารมณ์แปรปรวนมักจะก่อปัญหาให้กับชีวิตผู้ป่วยอยู่เสมอ เช่น มีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการเรียน การทำงาน และการตัดสินใจต่าง ๆ ติดสุราหรือยาเสพติด เกิดปัญหาอาชญากรรม ตลอดจนมีความคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย เป็นต้น


อาการของโรคไบโพลาร์

ช่วงอารมณ์ดี

- รู้สึกว่าตนมีความสำคัญหรือมีความสามารถมาก

- นอนน้อยกว่าปกติมาก โดยไม่มีอาการเพลียหรือต้องการนอนเพิ่ม

- พูดเร็ว พูดมาก พูดไม่ยอมหยุด ความคิดแล่นเร็ว

- มีหลายความคิดเข้ามาในสมอง สมาธิลดลง เปลี่ยนความสนใจ เปลี่ยนเรื่องพูดหรือทำอย่างรวดเร็ว

- ตอบสนองต่อสิ่งเร้าง่าย มีกิจกรรมมากผิดปกติ แต่มักทำได้ไม่ดี การตัดสินใจเสีย

- ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย

- ทำเรื่องที่เสี่ยงอันตรายหรือผิดกฎหมาย


ช่วงอารมณ์ซึมเศร้า

- ผู้ป่วยมักเบื่อหน่าย ท้อแท้ ไม่อยากทำอะไรอ่อนเพลีย

- ไม่เข้าสังคม เก็บตัวอยู่คนเดียว

- มองทุกอย่างในแง่ลบ

- ไม่มีความสุขในชีวิต ไม่มีอารมณ์ขัน

- รู้สึกผิดหวัง ว่างเปล่า โดดเดี่ยว ไร้ค่า

- มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย


การป้องกันโรคไบโพลาร์

- ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุ

- รักษาสุขภาพจิตให้ดี หลีกเลี่ยงการเผชิญความเครียดต่าง ๆ

- การหมั่นตรวจสังเกตอาการตนเองหรือคนรอบตัว เพราะโรคไบโพล่าห์คล้ายกับโรคซึมเศร้า แต่ต่างกันตรงที่ไบโพล่าห์จะมีช่วงอารณ์ดีเกินเหตุเป็นพิเศษ

- หากได้รับการวินิฉัยจากจิจัยว่าเข้าข่ายเป็นโรคไบโพล่าห์ ควรเข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ และกินยาตามคำสั่งของแพทย์ เพื่อให้สภาวะทางอารมณ์คงที่ และป้องกันการเกิดอารมณ์แปรปรวนที่ควบคุมไม่ได้


เเหล่งอ้างอิง

[1] POBPAD ข้อมูลสุขภาพที่ครบถ้วนและเชื่อถือได้-โรคไบโพลาร์


[2] สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ- 8 สัญญาณที่อาจเข้าข่ายเป็นโรคไบโพล่าร์

https://www.samyan-mitrtown.com/2022/03/30/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99-8-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2/






ดู 9 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page