top of page

ทำเข้าใจสู้โรคซึมเศร้าไปด้วยกัน

โรคซึมเศร้า คือ ความเจ็บป่วยทางด้านจิตใจ ซึ่งเกิดจากความผิดของสารเคมีในสมองที่ทำงานไม่สมดุล แต่มักจะถูกกระตุ้นด้วยเหตุการณ์ที่สะเทือนใจหรือการใช้ชีวิตสภาพแวดที่มีความกดดันมากๆ เช่น การอย่าร้างภายในครอบครัว ความยากจน การผิดหวังซ้ำซาก สัตว์เลี้ยงหรือคนที่รักจากไป การแข่งขันที่สูงจนก่อให้เกิดความเครียดและการเปรียบเทียบ เป็นต้น 8soCfP12Ph19mi914zQaZz2KsGGtcANVhVVfKAnmVRqM ร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน คนส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคซึมเศร้าหายเองได้ แต่ความจริงต้องอาศัยการบำบัดรักษาทางจิตเวชอย่างจริงจัง



อาการโรคซึมเศร้า

- มีอารมณ์ซึมเศร้า

- ความสนใจในกิจกรรมลดลง

- มีอาการเบื่ออาหารหรือทานอาหารมากเกินไป

- นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป

- กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข

- อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง

- รู้สึกไร้ค่า

- สมาธิลดลง ใจลอย

- น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้น

- หงุดหงิด โมโหง่าย ขี้รำคาญ หรือทำอะไรช้าลง

- มีความคิดหรือการวางแผนที่จะจบชีวิตลง





วิธีการป้องกัน

- การกินอิ่ม นอนหลับ พักผ่อนให้ตรงเวลา ไม่ทำงานเรียนหักโหมจนเกินไป

- การร่วมทำกิจกรรมงานอดิเรกและผ่อนคลายความเครียด เช่น การออกกำลังกาย ดูหนังฮีลใจ ฟังเพลง ฟังพอดแคสเชิงบวก การออกไปท่องเที่ยว การดำน้ำ เดินป่า เล่นกีฬา เต้นติ๊กตอก เป็นต้น เลือกเอาตามความชอบและตามถนัดของตนเอง

- การระบายเรื่องราวให้ผู้ที่ไว้ใจรับฟัง บางครั้งสิ่งที่เราต้องการ คือ คนที่คอยรับฟัง คอยให้กำลังใจ การที่เราระบายความรู้สึกภายในจิตใจและร้องไห้ออกมา ไม่ใช่คนที่อ่อนแอ แต่เป็นคนที่เข้มแข็งมากในการยอมรับว่าตนเองต้องการความช่วยเหลือ

- หากพบว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีอาการเหล่านี้มากกว่า 2 สัปดาห์ และเป็นอยู่ตลอดเวลา การพบจิตแพทย์เพื่อรับการประเมินเบื้องต้น เป็นด่านแรกที่ดีที่สุดในการบำบัดรักษาทางจิตใจให้กลับมาสดใสสวยงามเหมือนเดิม


ที่มา

- สถานบันสุขภาพจิตและวัยรุ่นราชนครินทร์

คุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ ตรวจสอบได้ด้วย 5 อาการของโรคซึมเศร้า

https://new.camri.go.th/infographic/89

- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

โรคซึมเศร้าโดยละเอียด

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017

ดู 13 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page