top of page
รูปภาพนักเขียนส้มส้ม

โรควิตกกังวล วังวนในเขาวงกตแห่งความคิด

เป็นเรื่องปกติที่จะมีเรื่องให้เครียดหรือกังวลในชีวิตประจำวันเป็นครั้งคราว ความเครียดที่พอเหมาะเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความกังวลที่มีประโยชน์ เนื่องจากทำให้เราพร้อมรับมือกับเหตุการณ์หรือปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดยปกติแล้วหากเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดสิ้นสุดลงภาวะกังวลก็จะหายไปด้วยเช่นกัน แต่ในผู้ที่เป็น “โรควิตกกังวล” ภาวะความกังวลยังคงอยู่ต่อเนื่องถึงแม้จะผ่านพ้นเหตุการณ์นั้นไปแล้วก็ตาม


โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) เป็นโรคจะมีความวิตกกังวลสูงในหลายๆ สถานการณ์ ทั้งยังรู้สึกว่าควบคุมตัวเองได้ยาก และไม่สามารถจัดการกับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม จึงส่งผลให้ความวิตกกังวลนั้นกลายเป็นโรคเรื้อรัง


อาการที่เเสดง

- คิดมากเกินกว่าเหตุ ไม่สบายใจเกินจำเป็น

- กระสับกระส่าย ตื่นตระหนก ว้าวุ่น

- ประหม่า เขินอายมาก

- รู้สึกกลัว รู้สึกไม่ปลอดภัย

- หงุดหงิดง่าย และควบคุมได้ยาก

- ใจลอยบ่อย ขาดสมาธิในการทำสิ่งต่างๆ

- มีปัญหาการนอน นอนไม่หลับ หรือหลับยาก

- มีปัญหาในการตัดสินใจ ตัดสินใจยาก

- เครียดจนเกิดอาการกล้ามเนื้อตึง

- คลื่นไส้ ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน

- อ่อนเพลีย อ่อนล้า เหนื่อยง่าย

- เหงื่อออกมากผิดปกติ

- มือเท้าเย็น มือเท้าชา ใจสั่น มือสั่น เสียงสั่น



วิธีการป้องกัน



- การดูแลตนเองขั้นพื้นฐานทานอาหารครบ 5 หมู่

- ออกกำลังกาย

- ไม่บริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

- หากมีความเครียด ความกังวลใจ เราควรพยายามหลีกเลี่ยงความกังวลนั้นด้วยการทำกิจกรรมที่เสริมสร้างความสบายใจ








ที่มาเเหล่งอ้างอิง

โรควิตกกังวล ทำความเข้าใจเพื่อลดความเสี่ยง

โรควิตกกังวลทั่วไป

โรควิตกกังวล ภัยร้ายในใจ ที่มองข้ามไม่ได้


Comments


bottom of page