โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นเรื่องที่เราได้ยินกันบ่อยขึ้นในสังคมปัจจุบัน สังเกตได้จากการที่เราใช้คำว่า “แพนิค” กันมากขึ้น เช่น เหตุการณ์ที่ใกล้จะสอบ แล้วมีเพื่อนดันเกิดตัวสั่น คลื่นไส้อาเจียนเป็นประจะ เราก็มักนึกถึงคำว่า “แพนิค” อยู่เสมอๆ วันนี้แอดมินจะพาทุกคนไปรู้จักถึงแก่นแท้ของโรคแพนิคจริงๆ อาการที่เกิดขึ้น และวิธีการป้องกันค่ะ
โรคแพนิค (Panic Disorder) คือ โรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง หรือเรียกว่า โรคตื่นตระหนก ผู้ที่เป็นมักมีความรู้สึกกลัว ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก แบบไม่คาดคิดมาก่อน และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และมีความกังวลว่าจะเป็นขึ้นมาอีก โดยสาเหตุหลักส่วนใหญ่ มาจากพันธุกรรม แต่มักถูกกระตุ้นด้วยสภาวะและพฤติกรรม เช่น การทำงานกับคอมและมือถือนานๆ การเผชิญสภาวะกดดัน สภาวะเร่งรีบ ความเครียดและความวิตกกังวล การไม่ออกกำลังกายและพักผ่อนน้อย โดยมีลักษณะของอาการ ดังนี้
อาการของโรคเเพนิค
- มือเท้าสั่น
- ตัวร้อนหนาววูบวาบ
- เหงื่อแตก วิงเวียนศีรษะ
- ใจสั่น แน่นหน้าอก
- หายใจติดขัด รู้สึกอึดอัด
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ตัวชา รู้สึกควบคุมตัวเองไม่ได้
วิธีการป้องกัน
- งดหรือลดดื่มเครืองดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา โคล่า
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เเละรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดอาการง่วงเซื่องซึมระหว่างวัน
- ฝึกคิดหรือมองโลกในแง่บวก ลองนึกถึงสถานที่หรือเหตุการณ์ที่ทำให้จิตใจสงบหรือผ่อนคลาย
และเพ่งเล็งความคิดดังกล่าว วิธีนี้จะช่วยลดความฟุ้งซ่านและอาการวิตกกังวลต่าง ๆ ช่วยปรับความคิดที่มีต่อตนเองและสิ่งรอบข้างให้ดีขึ้น
- เผชิญหน้ากับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น โดยลองหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว รวมทั้งฝึกรับมือกับความเครียด เช่น ฝึกหายใจลึก ๆ
ที่มา
โรคแพนิค (Panic Disorder) คืออะไร มีเกณฑ์การวินิจฉัยอย่างไร
โรคแพนิค https://www.pobpad.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84
Comentários